จ่าทหารเรือ

การสอบเข้าเป็นนักเรียนจ่าทหารเรือ โรงเรียนชุมพลทหารเรือ

          โรงเรียนชุมพลทหารเรือ เป็นโรงเรียนที่ผลิตนายทหารชั้นประทวนให้กับกองทัพเรือ การศึกษานักเรียนจ่าทหารเรือ (นรจ.) จะต้องเข้ารับการฝึกภาคสาธารณศึกษาเพื่อให้มีลักษณะท่าทางเป็นทหาร และรู้จักขนบธรรมเนียมของทหารเรือ ที่ รร.ชุมพล ฯ ยศ.ทร. เป็นเวลา 1 เดือน ก่อนจะแยกย้ายไปศึกษาตามพรรค – เหล่า โดยเหล่าแพทย์เหล่าเดียวจะแยกไปเรียนที่โรงพยาบาสลสมเด็จพระปิ่นเกล้าเป็นเวลา 2 ปี  ส่วนเหล่าอื่นยังคงศึกษาที่ร.ร.ชุมพลฯ ดังนี้
          1.  พรรคนาวิน เหล่าทหารการปืน เหล่าทหารสามัญ เหล่าทหารการเงิน เหล่าทหารสารวัตร เหล่าทหารสรรพาวุธ และพรรคกลิน ศึกษาที่ โรงเรียนชุมพลทหารเรือ 2 ปี จนจบหลักสูตร
          2.  พรรคพิเศษ เหล่าทหารแพทย์ ศึกษาที่โรงเรียนพยาบาล เป็นเวลา 2 ปี จนจบหลักสูตร
          3.  พรรคนาวิน เหล่าทหารสัญญาณ เหล่าทหารขนส่ง พรรคนาวิกโยธิน และพรรคพิเศษ เหล่าทหารช่างยุทธโยธา เหล่าทหารพลาธิการ ศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่ รร.ชุมพล ฯ ยศ.ทร. และศึกษาต่อชั้นปีที่ 2 ที่ โรงเรียนสื่อสาร โรงเรียนการขนส่งทหารเรือ โรงเรียนทหารนาวิกโยธิน โรงเรียนไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โรงเรียนอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ และโรงเรียนพลาธิการ ตามลำดับ

คุณสมบัติที่สำคัญของผู้สมัคร
          1. สำเร็จการศึกษาหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือกำลังศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 หรือสำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือกำลังศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 ของกระทรวงศึกษาธิการ หรือเทียบเท่าของกศน.
          2.  เป็นชายโสด อายุ 17 - 20 ปี สำหรับผู้ที่เป็นทหารกองประจำการ จะต้องสังกัดกองทัพเรือ และปลดเป็นทหารกองหนุนใน 30 เม.ย. หรือทหารกองหนุนสังกัดกองทัพเรือ(ปลดจากทหารกองประจำการเท่านั้น ไม่รับนศท.) ต้องมีอายุ 18 - 24 ปี
          3.  มีสัญชาติไทย และบิดา มารดามีสัญชาติไทยโดยการเกิด แต่ถ้าบิดาเป็นนายทหารสัญญาบัตรหรือนายทหารประทวน มารดาจะมิใช่เป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดก็ได้

หลักฐานสำคัญที่ต้องใช้ในการสมัคร
          1.  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาใบสูติบัตรของผู้สมัคร และสำเนาใบสำคัญทหารกองเกิน (สด.9)
               ***ในกรณีไม่มีใบสูติบัตรต้องมี สำเนาทะเบียนบ้านของผู้สมัคร บิดาและมารดา ที่แสดงสัญชาติของผู้ให้กำเนิด (ปู่-ย่า-ตา-ยาย)
          2.  สำเนาระเบียนแสดงผลการเรียน (รบ.) ของสถานศึกษาที่แสดงว่าสำเร็จการศึกษา
          3.  รูปถ่ายสี หน้าตรง ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตา ขนาด 2 นิ้ว จำนวน 12 รูป (ต้องเป็นรูปถ่ายที่ถ่ายไว้ในครั้งเดียวกัน และไม่เกิน 3 เดือน)

การซื้อระเบียบการและใบสมัคร
          1.  ซื้อด้วยตนเอง ประมาณเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์ ที่
                    -  กรมยุทธศึกษาทหารเรือ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
                    - ห้องสมุดกลางกองทัพเรือ อาคารราชนาวิกสภา กรุงเทพมหานคร
                    -  กรมกิจการพลเรือนทหารเรือ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
                    -  โรงเรียนสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ จังหวัดสมุทรปราการ
                    -  โรงเรียนชุมพลทหารเรือ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
                    -  ค่ายตากสิน อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี
                    -  ทัพเรือภาคที่ ๓ จังหวัดภูเก็ต
                    -  หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขงทุกเขต
                    -  ร้านสวัสดิการทหารเรือ (นันทอุทยาน)
                    - ร้านสวัสดิการกรมการเงินทหารเรือ (พระราชวังเดิม)
                    -  ร้านสวัสดิการกิจการห้องเย็น (สัตหีบ)
                    - สถานีวิทยุเสียงจากทหารเรือ (ส.ทร.2 บางนา ส.ทร.3 ภูเก็ต ส.ทร.5 สัตหีบ ส.ทร.8 พิษณุโลก ส.ทร.9 อุบลราชธานี ส.ทร.11 เชียงใหม่ ส.ทร.15 นราธิวาส)
          2.  สั่งซื้อทางไปรษณีย์ ประมาณธันวาคม – มกราคม  โดยจะถือวันประทับตราไปรษณีย์ต้นทางเป็นสำคัญ ราคารวมค่าจัดส่ง โดยธนาณัติสั่งจ่ายในนาม กรมยุทธศึกษาทหารเรือ ตู้ ปณ.11 ปณภ.พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170 ( ให้ส่งทางธนาณัติธรรมดาหรือธนาณัติด่วนพิเศษไม่รับธนาณัติ online )

การรับสมัคร
           1.  สมัครทางไปรษณีย์ ประมาณเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ โดยจะถือวันประทับตราไปรษณีย์ต้นทางเป็นสำคัญ
           2.  สมัครด้วยตนเอง
                    -  ส่วนภูมิภาค ประมาณกลางเดือนมกราคม (ประมาณ 3 วัน) เวลา 09.00 น. - 15.00 น. ตามสถานที่ ดังนี้
                                 - จังหวัดชลบุรี สวนกรมหลวงชุมพร (หนองตะเคียน) อำเภอสัตหีบ - จังหวัดสงขลา สถานีวิทยุเสียงจากทหารเรือ (ส.ทร.6) อำเภอเมือง
                                 - จังหวัดจันทบุรี ค่ายตากสิน อำเภอเมือง - จังหวัดขอนแก่น โรงเรียนขอนแก่นวิทยาลัย อำเภอเมือง
                      -  ส่วนกลาง ตามสถานที่ ดังนี้
                                   - กรุงเทพมหานคร สำนักงานราชนาวิกสภา เขตบางกอกน้อย ประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ (ประมาณ 3 วัน) เวลา 09.00 น. - 15.00 น.
                                    - จังหวัดนครปฐม กรมยุทธศึกษาทหารเรือ อำเภอพุทธมณฑล ประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ (ประมาณ 3 วัน) เวลา 09.00 น. - 15.00 น. ไม่เว้นวันหยุดราชการ

การสอบคัดเลือก   ประมาณปลายเดือนมีนาคม
                        - การสอบรอบแรกภาควิชาการ วิชาที่สอบ  ได้แก่ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาภาษาอังกฤษ วิชาภาษาไทย และวิชาวิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544
                        - การสอบรอบสอง การสอบรอบสอง ประมาณต้นเดือนเมษายน  โดยมีรายละเอียดดังนี้
                                - การตรวจขนาดพิกัดความสมบูรณ์ของร่างกายรวมทั้งการตรวจโรคและความพิการที่ขัดต่อการเป็นนักเรียนจ่าทหารเรือ  ผลการตรวจของคณะกรรมการที่กรมแพทย์ทหารเรือแต่งตั้งในการตรวจครั้งนี้ถือเป็นเด็ดขาด
                                - การทดสอบสุขภาพจิต เป็นการตรวจสอบลักษณะบุคลิกภาพ  แนวความคิด  อารมณ์  และจิตใจ ซึ่ง ผลการตรวจของคณะกรรมการที่กรมแพทย์ทหารเรือแต่งตั้งในการตรวจในครั้งนี้ถือเป็นเด็ดขาด
                                - การสอบความเหมาะสม  เป็นการสอบการสัมภาษณ์ ท่วงที – วาจา  เพื่อดูลักษณะท่าทาง  และความเหมาะสมในการเป็นทหาร  และความรู้ทั่วไปที่ควรทราบ
                                                > ท่วงที – วาจา (เสียง การพูด)                      20          คะแนน
                                                > ทัศนคติ                                                  10          คะแนน
                                                > ปฏิภาณไหวพริบ                                       60          คะแนน
                                                > ลักษณะท่าทางในการเป็นทหาร                    10          คะแนน
                                - การสอบพละศึกษาเป็นการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ดังนี้
                                                > ว่ายน้ำ 50 เมตร                                          100        คะแนน
                                                > วิ่ง 800 เมตร                                              100        คะแนน
                                                > ลุกนั่ง                                                        50         คะแนน
                                                > ดันข้อ                                                        50         คะแนน

สิทธิและประโยชน์ที่นักเรียนจ่าได้รับ
                นักเรียนจ่าทหารเรือในส่วนของกองทัพเรือ ที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนชุมพลทหารเรือ และโรงเรียนในสังกัด กองทัพเรือ จะได้รับการประดับยศเป็นจ่าตรีตามพรรคเหล่าที่สำเร็จการศึกษา ในช่วงระหว่างการศึกษานักเรียนจ่าทหารเรือ จะได้รับสิทธิ์และโอกาสดังนี้
                  1. ในช่วงเวลาการศึกษาอยู่ในโรงเรียนชุมพลทหารเรือ
                               -  ได้รับเบี้ยเลี้ยงประจำวัน วันละ 75 บาท เป็นค่าอาหาร
                               -  กองทัพเรือ ออกค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา อาหาร และเครื่องแต่งกายทั้งหมด
                               -  ขณะศึกษาชั้นปีที่ 1  ได้รับเงินเดือน เดือนละ  2920 บาท
                               - ขณะศึกษาชั้นปีที่ 2  ได้รับเงินเดือน เดือนละ 3110 บาท
                               -  นักเรียนจ่าทหารเรือชั้นปีที่ 1  ที่มีผลการศึกษาดี  จะได้รับการพิจารณาสอบคัดเลือกให้เข้ารับการศึกษาต่อที่โรงเรียนนายเรือและในระหว่างศึกษาที่โรงเรียนนายเรือ  จะได้รับการแต่งตั้งยศเป็นจ่าตรี และได้รับเงินเดือน เดือนละ 5080 บาท  ไปจนจบการศึกษา (ปีละ 2 นาย)
                   2. เมื่อสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนชุมพลทหารเรือ
                               -  ได้รับการแต่งยศเป็นจ่าตรี  เริ่มรับเงินเดือน เดือนละ 6470 บาท
                               -  ได้รับเบี้ยค่าครองชีพชั่วคราว เดือนละ 2530 บาท
                               -  สำหรับผู้ที่ได้รับการบรรจุให้ปฏิบัติงานบนเรือหลวง จะได้รับเงินเพิ่มประจำตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษสำหรับทหารหน่วยเรือ (พ.น.ร.)  อีกเดือนละ 2700 บาท นอกเหนือจากเงินเดือนตามปรกติ
                                -  เมื่อเป็นนายทหารประทวนแล้วยังมีสิทธิ์สมัครเข้ารับการศึกษาเพิ่มเติมตามขีดความสามารถของตนเอง ในสาขาอาชีพต่าง ๆ และมีสิทธิ์สอบคัดเลือกไปรับเรือในต่างประเทศ
                                 -  นายทหารประทวนที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสามารถสอบเลื่อนฐานะเป็นนายทหารสัญญาบัตรและสามารถสอบปรับเทียบคุณวุฒิเป็นนายทหารสัญญาบัตรปริญญาได้ตามตำแหน่งที่กองทัพเรือมีความต้องการ
                                 -  ได้รับสิทธิต่างๆ ที่ทางราชการกำหนด เช่น การรักษาพยาบาล การศึกษาบุตร ฯลฯ

การเลือก พรรค – เหล่า                
          คณะกรรมการสอบคัดเลือกฯ จะดำเนินการเกี่ยวกับการเลือก พรรค – เหล่า  โดยใช้ความสมัครใจประกอบกับคะแนนสอบคัดเลือกฯ  ที่ผ่านมาเป็นเกณฑ์ตัดสิน ซึ่งผู้สมัครสอบจะทราบพรรค – เหล่า  ของตนเองในวันประกาศผลการสอบ  ถ้ามี  พรรค – เหล่า ใดว่างลงอันเนื่องมาจากมีผู้สมัครน้อยหรือสละสิทธิ์  คณะกรรมการสอบคัดเลือกฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการจัด พรรค – เหล่า นั้นๆ ให้แก่ผู้สมัครสอบเพื่อให้ครบจำนวนตามที่ทางราชการต้องการ                เงื่อนไขในการเลือกพรรค – เหล่า มีดังนี้                               

          - พรรคนาวิน  เหล่าทหารสามัญ   พรรคนาวิน เหล่าทหารการปืน   พรรคนาวิน เหล่าทหารขนส่ง   พรรคนาวิน เหล่าทหารสรรพาวุธ   พรรคนาวิน เหล่าทหารสัญญาณ – วิทยุ  พรรคนาวิน เหล่าทหารสัญญาณ – เรดาห์  พรรคนาวิน เหล่าทหารสัญญาณ – โซนาร์  พรรคนาวิน เหล่าทหารสัญญาณ – ทัศนสัญญาณ  พรรคนาวิกโยธิน พรรคกลิน  พรคกลิน เหล่าทหารเครื่องกล – ช่างเครื่องบิน  ต้องสำเร็จหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพของกระทรวงศึกษาธิการ                               
          - พรรคนาวินเหล่าทหารสารวัตร ต้องสำเร็จการศึกษาหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพของกระทรวงศึกษาธิการ และมีความสูงไม่น้อยกว่า 165 เซนติเมตร                               
          - พรรคพิเศษเหล่าทหารแพทย์ ต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย มีคะแนนเฉลี่ยสะสม 2.00 ขึ้นไป และต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติมดังนี้                                               
                     > วิชาวิทยาศาสตร์  ต้องมีหน่วยกิตรวมกันไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต                                       
                      > วิชาคณิตศาสตร์  ต้องมีหน่วยกิตรวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต                               
          - พรรคพิเศษเหล่าทหารช่างยุทธโยธา – อิเล็กทรอนิกส์  ต้องสำเร็จการศึกษาหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย และต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติมดังนี้                                               
                      > วิชาวิทยาศาสตร์  ต้องมีหน่วยกิตรวมกันไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต                                      
                       > วิชาคณิตศาสตร์  ต้องมีหน่วยกิตรวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต หรือสำเร็จหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพช่างอุตสาหกรรม (ช่างอิเล็กทรอนิกส์)                               
           - พรรคพิเศษเหล่าทหารช่างยุทธโยธา – ไฟฟ้า  ต้องสำเร็จการศึกษาหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย และต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติมดังนี้                                               
                       > วิชาวิทยาศาสตร์  ต้องมีหน่วยกิตรวมกันไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต                                     
                        > วิชาคณิตศาสตร์  ต้องมีหน่วยกิตรวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต หรือสำเร็จหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพช่างอุตสาหกรรม (ช่างไฟฟ้า)                               
          - พรรคพิเศษ เหล่าทหารพลาธิการ เหล่าทหารการเงิน  ต้องสำเร็จการศึกษาหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพพาณิชยกรรม

ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก The Road To Soldier & Police เส้นทางสู่อาชีพทหารตำรวจ
https://www.facebook.com/theroadtosoldierpoliceth

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น